วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557



เคอร์ฟิว( Curfew)

 
(ภาษาอังกฤษ Curfew)
เคอร์ฟิว คืออะไร เหตุใดถึงต้อง ประกาศเคอร์ฟิว 2557  รวมถึงข้อห้ามและโทษหากผู้ที่ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว
            หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ประกาศรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง เมื่อเวลา 16.30 น. ของวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา พร้อมกับจัดตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาความไม่สงบภายในประเทศให้เป็นไปความเรียบร้อย พร้อมออกประกาศและออกคำสั่งในหลายเรื่องให้ประชาชนได้ทราบกันนั้น
            เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ในวันเดียวกันนั้น ทาง คสช. ได้ "ประกาศเคอร์ฟิว 2557"
  ห้ามออกนอกเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00-05.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และต่อมาเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 57 คสช.ได้ออกประกาศฉบับที่ 42 ปรับเวลาเคอร์ฟิวใหม่ เป็นเวลา 00.01-04.00 น. มีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชน ซึ่งหลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่า เคอร์ฟิว คืออะไร และหากเรามีเหตุจำเป็นต้องเดินทางในช่วงเวลาเคอร์ฟิวจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ตามไปหาคำตอบกันเลย...
เคอร์ฟิว คืออะไร
            เคอร์ฟิว (ภาษาอังกฤษ Curfew) หมายถึง มาตรการห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด หรือห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะ ซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 (1) ระบุว่า ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น นอกจากนี้ มาตรา 9 (4)  ยังห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
            ทั้งนี้ เคอร์ฟิว เป็นการประกาศหลังจากที่ประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าจำเป็น ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือให้เกิดความสะดวกต่อการปราบปรามกลุ่มเป้าหมาย และเป็นการสะดวกในการแยกแยะกลุ่มผู้ชุมนุม กลุ่มผู้ก่อการร้าย หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
ประกาศ เคอร์ฟิว ประชาชนต้องทำตัวอย่างไร
            เคอร์ฟิว จะมีการกำหนดเวลาไว้อย่างชัดเจนว่าห้ามออกจากเคหสถานในช่วงเวลาใดบ้าง ซึ่งช่วงเวลาที่เคอร์ฟิวนั้น เจ้าหน้าที่สามารถตรวจการและดำเนินการทางยุทธวิธี โดยไม่เป็นอันตรายแก่ประชาชน แต่หากพบว่าประชาชนคนไหนขัดขืนโดยไม่มีเหตุผล เหตุจำเป็น หรือหลักฐานแสดงตนชัดเจน ก็จะถือว่ามีเจตนาฝ่าฝืน ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจจะดำเนินการได้ เนื่องจากได้แจ้งให้ทราบแล้วว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีการเคอร์ฟิว
            อย่างไรก็ตาม สำหรับการประกาศเคอร์ฟิว 2557 ที่ผ่านมา ทาง คสช. ออกประกาศฉบับที่ 8 ระบุยกเว้นเคอร์ฟิวกับบุคคลที่ต้องเดินทางเข้า-ออก ประเทศเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเป็นช่วงเวลา เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือโรงพยาบาลธุรกิจการบินการเดินทางขนส่งสินค้าที่มีอายุจำกัด และผู้ป่วย ส่วนผู้ที่มีกิจธุระจำเป็นอื่น ๆ ให้ขออนุญาตทหารในพื้นที่
การลงโทษหากผู้ฝ่าฝืน เคอร์ฟิว
            สำหรับการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว ในการประกาศเคอร์ฟิว เมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา ทางศูนย์อำนวยแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แจ้งว่ามีผู้ฝ่าฝืนเคอร์ฟิวกว่า 500 คน โดยได้ลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 2,000 บาท ซึ่งโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 1 ปี แต่หากทำผิดซ้ำจะดำเนินคดีทันทีไม่รอลงอาญา ในส่วนของการประกาศเคอร์ฟิว 2557 ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ฝ่าฝืนเคอร์ฟิวหรือมีการลงโทษแล้วแต่อย่างใด
เคอร์ฟิว ภาคใต้
            จากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมานั้น ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หารือถึงการออกประกาศเคอร์ฟิว เนื่องจากเป็นการปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ แต่วันนี้ ก็มีนักวิชาการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า สถานการณ์ภาคใต้ ยังไม่รุนแรงถึงต้องประกาศเคอร์ฟิว พร้อมทั้งแนะนำให้เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ เน้นการตรวจตราตามจุดตรวจต่าง ๆ เพิ่มการลาดตระเวนแทน เพราะการประกาศเคอร์ฟิวภาคใต้อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี อีกทั้งวิถีของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีสี่ตีห้าเพื่อไปละหมาด และโดยสถิติแล้วผู้ก่อการร้ายส่วนใหญ่มักไม่ก่อเหตุในช่วงเวลาดังกล่าว แต่จะก่อเหตุในช่วงเช้าหรือตอนกลางวัน

ประชาธิปไตย


ประชาธิปไตย

เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนโดยตรงหรือผ่านผู้แทนที่ ตนเลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและ การปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการแสดงความยินยอมและเจตนาของ ตน

ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง

แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตามแต่ความเสมอภาคและอิสรภาพได้ถูกระบุว่าเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาล หลักการดังกล่าวถูกสะท้อนออกมาผ่านความเสมอภาคทางกฎหมายของ พลเมืองทุกคน และมีสิทธิเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน ตัวอย่างเช่น ในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ทุกเสียงมีน้ำหนักเท่ากันทั้งสิ้น และไม่มีการจำกัดอย่างไร้เหตุผลใช้บังคับกับทุกคนที่ปรารถนาจะเป็นผู้แทน ส่วนอิสรภาพได้มาจากสิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งโดยทั่วไปได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ

ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในกรีซโบราณ แต่วิธีปฏิบัติแบบประชาธิปไตยปรากฏในสังคมอยู่ก่อนแล้ว รวมทั้งเมโสโปเตเมีย ฟินีเซียและอินเดียวัฒนธรรมอื่นหลังกรีซได้มีส่วนสำคัญต่อวิวัฒนาการของประชาธิปไตย เช่น โรมันโบราณ  ยุโรป  และอเมริกาเหนือและใต้ ] มโนทัศน์ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเกิดขึ้นส่วนใหญ่จากแนวคิดและสถาบันซึ่งได้ถูกพัฒนาระหว่างยุคกลางของยุโรปและยุคภูมิธรรมในการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส
ประชาธิปไตยได้ถูกเรียกว่า "ระบอบการปกครองสุดท้าย" และได้แพร่หลายอย่างมากไปทั่วโลก สิทธิในการออกเสียงลงมติในหลายประเทศได้ขยายวงกว้างขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จากกลุ่มค่อนข้างแคบ (เช่น ชายมั่งมีในกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง ๆ) โดยนิวซีแลนด์เป็นชาติแรกที่ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปแก่พลเมืองทุกคนใน ค.ศ. 1893
อุดมการณ์ทางการเมืองกับเศรษฐกิจ
ในทุกสังคมจะมีอุดมการณ์ใหญ่ ๆ สองอุดมการณ์คืออุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและอุดมการณ์ทางการเมือง 

เขียน กราฟสองแกนให้แกนนอนเป็นอุดมการณ์เศรษฐกิจ แกนตั้งเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง                                                          ประชาธิปไตย
                                                                       
                                                A                                 B
            สังคมนิยม                                                                       ทุนนิยม
 
                                       C                                 D
                                                                        เผด็จการเบ็ดเสร็จ
 
ถ้า คนในสังคมเชื่อว่าอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในทางการเมืองควรตกอยู่ใน มือของคนส่วนใหญ่เรียกอุดมการณ์ทางการเมืองนี้ว่า ประชาธิปไตย ในทางตรงข้ามถ้าอำนาจอธิปไตยตกอยู่ในมือคน ๆ เดียว มีสิทธิใช้อำนาจอธิปไตยเพียงลำพังเรียกอุดมการณ์ทางการเมืองนี้ว่าเผด็จการ เบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) เช่น นาซี ฟาสซิสม์ (อำนาจสูงสุดอยู่ในมือผู้ปกครองเพียงคนเดียว)
แกน นอนเป็นความคิดความเชื่อเรื่องการจัดการทางเศรษฐกิจ (อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ) ถ้าเชื่อว่าอำนาจในการกำหนดวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของประชาชนอยู่ในมือของคน บางคนบางกลุ่ม เรียกอุดมการณ์เศรษฐกิจนี้ว่าทุนนิยม ในทางตรงข้ามถ้าเชื่อว่าอำนาจในการกำหนดวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของประชาชนอยู่ ในมือของสังคมโดยรวม เรียกอุดมการณ์เศรษฐกิจนี้ว่า สังคมนิยม สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต 

ปฏิวัติกับรัฐประหาร

ปฏิวัติ (revoluton)

หมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบหรือระบอบการปกครองประเทศ จากรูปแบบหนึ่ง ไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง อย่างสิ้นเชิง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส (เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ)หรือ ในประเทศไทย ก็คือสมัย ร๗ ที่เปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ)

ส่วน รัฐประหาร(coup de ta)

หมายถึง การใช้กำลัง เพื่อเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาล โดยระบอบการปกครองยังคงเดิม เช่น การรัฐประหารสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ สมัย พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ ซึ่งจะเห็นว่า เปลี่ยนแปลงเฉพาะคณะรัฐบาลเท่านั้น โดยที่ประเทศไทยยังคงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุขเช่นเดิม

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ           นายณรงค์ฤทธิ์   มายา   
ชื่อเล่น     ต้อม
เลขประจำตัวนักศึกษา 5612001205 
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  สาขาวิชารัฐศาสตร์